การใช้งาน ร่มใหญ่ กับขาตั้งร่มสนามประเภทต่างๆ

ร่มใหญ่

     ร่มใหญ่ หรือร่มสนาม ร่มแม่ค้า ร่มชายหาด หรือร่มในชื่อเรียกอื่นๆอีกมายมากที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 36นิ้วขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นร่มใหญ่ทั้งหมด เพราะเป็นร่มที่ไม่สามารถถือใช้งานได้ จำเป็นจ้ะองตั้งไว้กับพื้นโดยใช้ขาตั้งร่ม ซึ่งขาตั้งร่มนี้แหละคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ร่มใหญ่เหล่านี้ตั้งตรงอยู่ได้ แม้จะโดนลมพัดก็ไม่ล้มได้ง่ายๆ แต่การเลือกใช้ขาตั้งแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับขนาดของร่มใหญ่แต่ละขนาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น เรามีวิธีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร วันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกท่านได้ทราบกัน ดังต่อไปนี้

ขนาดของร่มใหญ่

ทำร่มสนาม

ร่มใหญ่ หรือร่มสนาม ร่มชายหาด ร่มแม่ค้านั้นมีขนาดมากมายด้วยกัน โดยสามารถจำแนกออกเป็นขนาดมาตรฐานได้ดังนี้ คือ

ร่มใหญ่ขนาด 36นิ้ว เป็นร่มใหญ่ที่มีขนาดเล็กสุดในบรรดาร่มทั้งหมด แต่ถึงจะบอกว่าเล็ดสุดก็ตาม ร่มก็ยังคงมีขนาดใหญ่กว่าที่คุณจะถือใช้งานได้ไหว จำเป็นต้องใช้งานคู่กับขาตั้งร่มอยู่ดี

ร่มใหญ่ขนาด 40-45นิ้ว เป็นร่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา จัดได้ว่าอยู่ในระดับกลางของร่มใหญ่ เป็นขนาดร่มที่ได้รับความนิยมใช้งานกันเป็นจำนวนมากเพราะมีขนาดความกว้างที่กำลังดีใช้งานได้ง่ายและเก็บได้สะดวก

ร่มใหญ่ขาด 50-60นิ้ว ถือได้ว่าเป็นขนาดของร่มที่ใหญ่ที่สุด สามารถใช้งานกันแดดกันฝนได้อย่างดี แข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และมีน้ำหนักร่มที่ค่อนข้างมาก เพราะด้วยขนาดที่ใหญ่นั้นเอง นิยมใช้งานตั้งอยู่กับที่ไม่ได้เคลื่อนย้ายบ่อยๆ

ดูรายละเอียดขนาดร่มเพิ่มเติม : ขนาดร่มสนาม


 

ประเภทของร่มใหญ่

ผลิตร่มชายแม่ค้า

สำหรับประเภทของร่มใหญ่ หรือร่มสนามนั้น สามารถแยกออกเป็นเรื่องของโครงกับเรื่องของทรงร่มได้ดังนี้

โครงร่มใหญ่ที่เห็นอยู่ในท้องตลาดทั่วไปนั้นสามารถจำแนกออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ

• ร่มใหญ่ทรงกลม8ช่อง • ร่มหใญ่ทรงสี่เหลี่ยม8ช่อง • และร่มใหญ่ทรงสี่เหลี่ยม4ช่อง

โดยแต่ละแบบก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

และเรื่องที่สองก็คือโครงร่มที่สามารถจำแนกประเภทของโครงร่มออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ คือ

• ร่มใหญ่โครงไม้ • ร่มใหญ่โครงเหล็ก • และร่มใหญ่โครงเหล็กชุบโครเมี่ยม

ซึ่งโครงร่มใหญ่สุดท้ายนั้นเป็นโครงที่ได้รับความนิยมในการใช้งานกันมากที่สุด เพราะเป็นโครงที่แข็งแรง ดูพรีเมี่ยม และน่าใช้งานมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถถอดประกอบได้อีกด้วย ทำให้จัดเก็บและขนย้ายได้ง่ายสะดวกสบายเป็นอย่างมาก


 

ประเภทขาตั้ง ร่มใหญ่

ขาตั้งร่มสนาม

1.ขาตั้งร่มชุบซิงค์ธรรมดาพับได้ 4 ขา เป็นขาตั้งร่มที่มีขนาดเล็ก ขาตั้งเรียว ขนย้ายและกางใช้งานได้ง่าย เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ร่มไม่มีลมแรงมากนัก เพราะขาตั้งนั้นมีน้ำหนักที่ไม่มากเท่าไหร่นัก

2.ขาตั้งร่มชุบซิงค์หนาพับได้ 4 ขา เป็นขาตั้งร่มที่มีขนาดเล็ก ขาตั้งหนาใหญ่ ใช้งานได้ดี มีน้ำหนักพอสมควร เหมาะกับการใช้งานทั่วไปได้เป็นอย่างดี

3.ขาตั้งร่มแบบหนาเคลือบโครเมี่ยมพับได้ 4 ขา ลักษณะเหมือนขาตั้งร่มชุบซิงค์หนา แต่จะมีความเงางามและแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานได้ดีและยาวนานเพราะมีการเคลือบโครเมี่ยมที่ทำให้ทนแดดทนฝนได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานได้ทุกพื้นที่

4.ขาตั้งร่มแพ แบบเล็ก เป็นขาตั้งร่มแบบพับเก็บไม่ได้ ลักษณะจะเป็นเหมือนแพ ตั้งอยู่กับพื้น มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และมีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีลมหรือพื้นที่เรียบๆ

5.ขาตั้งร่มแพ แบบใหญ่ ลักษณะเหมือนขาตั้งแพเล็ก ต่างกันที่ขนาใหญ่กว่าและน้ำหนักมากกว่า นิยมใช้งานกันตามตลาดใหญ่ๆเพราะไม่ต้องเคลื่อนย้ายร้านบ่อยๆและสามารถทนแรงลมฝนได้ดีอีกด้วย


 

การเลือกขาตั้งให้เหมาะกับร่ม

รผลิตร่มสนาม ร่มใหญ่

สำหรับขาตั้งรร่มสนามหรือร่มใหญ่นั้น ถือได้ว่าเป็นอุปกรณืที่จำเป็นและมีความสำคัญยิ่งเป็นอย่างมากที่สุด เพราะถ้าขาดเจ้าสิ่งนี้ไป คุณก็คงจะใช้งานร่มใหญ่หรือร่มสนามไม่ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วการเลือกใช้ขาตั้งร่มสนามให้เหมาะสมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่มสนามหรือร่มใหญ่ของคุรตั้งตรงใช้งานกันแดดกันลมฝนได้อย่างมั่นคงและยาวนานไม่ล้มใส่คุณอย่างแน่นอน


 

เกณฑ์การเลือกขาตั้งร่มใหญ่

โรงงานร่มสนาม

สำหรับการเลือกขาตั้งร่มใหญ่นั้นมีหลักเกณฑ์การพิจารณาง่ายๆดังนี้คือ เรื่องของขนาดร่ม ถ้าร่มขนาดใหญ่อย่าง 40นิ้วขึ้นไปควรเลือกใช้ขาตั้งร่มแบบหนาเคลือบโครเมี่ยม เพราะสามารถรับน้ำหนักได้เยอะและทนต่อแรงลมฝนได้ดีพอสมควรเหมาะกับขนาดของร่มขนาดกลางๆ ส่วนถ้าเป็นร่มขนาด 50-60นิ้วขึ้นไป และไม่อยากเคลื่อนบ้ายบ่อยๆก็ควรเลือกใช้ขาตั้งแบบขาตั้งแพใหญ่เพราะสามารถรับน้ำหนักร่มได้เยอะและทนทานต่อลมฝนได้ดีอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่การใช้งานด้วย ต้องเป็นพื้นที่ราบเรียบไม่เอียงหรือขรุขระเพราะจะทำให้ร่มใหญ่ของเรานั้นเอนเอียงได้ง่าย และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานหรือคนรอบข้างได้